วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เรื่องยีราฟที่คอยาว


ความเป็นมาของยีราฟ

ยีราฟแบ่งออกเป็นชนิดย่อยได้อีก 8 ชนิด จัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมมีความสูงที่สุดสามารถวัดได้ถึง 6 เมตร ทั้ง 2 เพศ จะมี 2 เขา ลักษณะของจุดหรือลายที่ลำตัวคล้ายกับเส้นลายมือของคนที่ช่วยให้เราจดจำได้ว่า เป็นสัตว์ตัวใด การหากินจะปะปนอยู่กับสัตว์อื่นๆ เช่น พวกม้าลาย นกกระจอกเทศ และแอนตีโลป ศัตรู สำคัญของยีราฟคือ เสือ เสือดาว และสิงโต การป้องกันตัวจะใช้หัวเหวี่ยงและใช้เท่าเตะยีราฟมีเฉพาะในทวีปแอฟริกาแถบทุ่งหญ้า สะวันนาทางตอนใต้ของทะเลทรายซาฮาร่าตั้งแต่ไนจีเรียไปจนจดแม่น้ำออเร้นจ์เป็น สัตว์บกที่สูงที่สุดมีคอยาวมามีีเขาทั้งในตัวผู้และ ตัวเมีย ไม่ผลัดเขา เขามีขนปกคลุมอยู่ หนังมีขนสั้นสีน้ำตาล มีลายขาวแปลกตา ปากและลิ้นยาว ใช้ริมฝีปากและลิ้นม้วนวนจับใบไม้ได้ มีเต้านม 4 เต้า สามารถส่งเสียงร้องได้ มีหลายพันธุ์ชอบอาศัยอยู่ในทุ่งกว้างรวมกันเป็นฝูง และหากินร่วมกับสัตว์อื่น เช่นพวกม้าลายนกกระจอกเทศพวกแอนตีโลปดยมันจะคอยช่วย ระวังภัยให้ มันชอบเล็มกินใบไม้อ่อน ๆ และตาอ่อนที่เพิ่งแตกกิ่งออกมามาก เวลาก้มลงกินน้ำจะถ่างขาหน้าแยกออกจากกันเพื่อช่วยรับน้ำหนักตัว ปกติมักไม่กินหญ้าเพราะก้มลงกินลำบาก ตัวผู้มีการต่อสู้กันในฤดูผสมพันธุ์ ศัตรูสำคัญของมัน คือ เสือดาวและสิงโต ป้องกันตัวโดยใช้หัวเหวี่ยงและใช้เท้าเตะเริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่ออายุราว 3 ปีครึ่ง ตั้งท้องนาน 420-468 วัน ตกลูกครั้งละ 1 ตัว ลูกหย่านมเมื่ออายุ 10 เดือน เป็นสัดทุก 14 วัน แต่ละครั้งเป็นอยู่นาน 24 ชั่วโมง อายุยืนประมาณ 20-30 ปี ยีราฟชอบใบไม้ เช่น ใบประดู่ ใบอินทรีย์ ใบนกยูง ใบหูกวาง ใบขนุน ใบตองเป็นอาหาร
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (อังกฤษ: Mammalia) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Mammalia มาจากคำว่า Mamma ที่มีความหมายว่า "หน้าอก" เป็นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ที่มีการวิวัฒนาการและพัฒนาร่างกายที่ดีหลากหลายประการ รวมทั้งมีระบบประสาทที่เจริญก้าวหน้า สามารถดำรงชีวิตได้ในทุกสภาพสิ่งแวดล้อม[1] มีขนาดของร่างกายและรูปพรรณสัณฐานที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะของสายพันธุ์ มีลักษณะเด่นคือมีต่อมน้ำนมที่มีเฉพาะในเพศเมียเท่านั้น เพื่อผลิตน้ำนมเพื่อใช้เลี้ยงลูกวัยแรกเกิด[2] เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีขนเป็นเส้น ๆ (hair) หรือขนอ่อน (fur) ปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย เพื่อเป็นการรักษาอุณหภูมิในร่างกาย ยกเว้นสัตว์น้ำที่ไม่มีขน
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ไม่จัดอยู่ในประเภทสัตว์กลุ่มใหญ่ คือมีจำนวนประชากรประมาณ 4,500 ชนิด ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับนก ที่มีประมาณ 9,200 ชนิด และปลาอีกประมาณ 20,000 ชนิด รวมทั้งแมลงอีกประมาณ 800,000 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นสัตว์บก เช่น สุนัข ช้าง ลิง เสือ สิงโต จิงโจ้ เม่น หนู ฯลฯ สำหรับสัตว์น้ำที่จัดเป็นเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ได้แก่ โลมา วาฬ มานาทีและพะยูน แต่สำหรับสัตว์ปีกประเภทเดียวที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมคือค้างคาว ซึ่งกระรอกบินและบ่างนั้น ไม่จัดอยู่ในประเภทของสัตว์ปีก เนื่องจากใช้ปีกในการร่อนไปได้เพียงแค่ระยะหนึ่งเท่านั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่ออกลูกเป็นตัว ยกเว้นตุ่นปากเป็ดและอีคิดนาเท่านั้นที่ออกลูกเป็นไข่

ความสูงและความยาวของคอยีราฟ ทำให้สัตว์เท้ากีบพื้นเมืองแอฟริกาชนิดนี้ได้สมญาว่า เป็นสัตว์บกที่สูงที่สุดในโลก ถึงแม้ว่ายีราฟจะไม่ใช่หนึ่งใน Big Five แห่งแอฟริกา (ช้าง สิงโต แรด เสือดาว และควายป่า) แต่เอกลักษณ์โดดเด่นหลายอย่างของมัน ก็ทำให้หลายคนนึกถึงพวกมันเช่นกัน

ในภาษาอังกฤษคำว่า Giraffe แท้จริงแล้วเพิ่งใช้กันแพร่หลายเมื่อศตวรรษที่ 16 อย่างไรก็ตาม ชาวอังกฤษรู้จักสัตว์ชนิดนี้ตั้งแต่ศตวรรษที่ 14 ในชื่อ Camelopardalis หรือ Camelopard ซึ่งเป็นการสนธิคำสองคำคือ Camel (อูฐ) และ Leopard (เสือดาว) โดยเป็นไปตามความคิดเห็นของชาวโรมันที่มองว่า ยีราฟนั้นมีลักษณะคล้ายอูฐ และมีลายตามตัวคล้ายเสือดาว ส่วนคำว่า Giraffe ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมาจากคำว่า Ziraafa หรือ Zurapha ในภาษาอารบิก ที่แปลว่า สูง ชาวอิตาเลียนรับไปแปลงเป็นคำว่า giraffe ซึ่งต่อมาได้กลายเป็น giraffe ในภาษาอังกฤษ

ยีราฟจัดเป็นสัตว์ในตระกูลเดียวกับกวางและวัว กล่าวคือ เป็นสัตว์เคี้ยวเอื้อง มีเท้ากีบ และมีเขา ยีราฟมีความสูงได้ถึง 4-6 เมตร และมีน้ำหนักประมาณ 800-1,200 กิโลกรัม หัวใจของยีราฟหนักประมาณ 10 กิโลกรัม และสามารถสูบฉีดเลือดได้แรงกว่าหัวใจมนุษย์ถึง 3 เท่า เพื่อไปเลี้ยงสมองที่อยู่สูงขึ้นไปประมาณ 8 ฟุต (อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น