วันอังคารที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2555

เต่าน้อย

เต่า (อังกฤษ: Turtle, Tortoise, Soft-shell turtle) คือ สัตว์จำพวกหนึ่งในอันดับ Testudines จัดอยู่ในจำพวกสัตว์เลือดเย็น และเป็น สัตว์เลื้อยคลานด้วย ซึ่งเต่านั้นถือเป็นสัตว์ที่มีอายุยืนมากที่สุดชนิดหนึ่ง โดยเต่าจะมีกระดูกที่แข็งคลุมบริเวณหลังที่เรียกว่า "กระดอง" ซึ่งประกอบด้วยแคลเซียมเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งจะสามารถหดหัว ขา และหางเข้าในกระดองเพื่อป้องกันตัวได้ แต่เต่าบางชนิดก็ไม่อาจจะทำได้ เต่าเป็นสัตว์ที่ไม่มีฟัน แต่มีริมฝีปากที่แข็งแรงและคม ใช้ขบกัดอาหารแทนฟัน
โดยมากแล้ว เต่า เป็นสัตว์ที่เคลื่อนไหวและเคลื่อนที่ได้ช้า อาศัยและใช้ช่วงชีวิตหนึ่งอยู่ในน้ำ ซึ่งมีอาศัยทั้งน้ำจืด และทะเล แต่เต่าบางชนิดก็ไม่ต้องอาศัยน้ำเลย เรียกว่า "เต่าบก" (Testudinidae) ซึ่งเต่าบกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือ เต่ายักษ์กาลาปากอส (Geochelone nigra) ที่อาศัยอยู่ตามเกาะต่าง ๆ ในหมู่เกาะกาลาปากอส ในเอกวาดอร์ (มีทั้งหมด 15 ชนิดย่อย) ในขณะที่เต่าน้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือ เต่าอัลลิเกเตอร์ (Macrochelys temminckii) อาศัยอยู่ตามหนองน้ำในทวีปอเมริกาเหนือ







เป็นเต่าจำพวกหนึ่งที่ทั้งชีวิตอาศัยอยู่แต่ในทะเลเพียงอย่างเดียว จะขึ้นมาบนบกก็เพียงแค่วางไข่เท่านั้น โดยที่เท้าทั้งสี่ข้างพัฒนาให้เป็นอวัยวะคล้ายครีบ ซึ่งเต่าทะเลทั่วโลกปัจจุบันมีทั้งหมด 7 ชนิด ใน 2 วงศ์ 5 สกุล ได้แก่ เต่าหัวค้อน (Caretta caretta), เต่าตนุ (Chelonia mydas), เต่ามะเฟือง (Dermochelys coriacea), เต่ากระ (Eretmochelys imbricata), เต่าตนุหลังแบน (Natator depressus), เต่าหญ้าแอตแลนติก (Lepidochelys kempii), เต่าหญ้า (Lepidochelys olivacea) โดยที่เต่ามะเฟืองเป็นเต่าทะเลและเป็นเต่าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งในน่านน้ำไทยพบได้ถึง 5 ชนิด ไม่พบเพียง 2 ชนิดคือ เต่าตนุหลังแบน และ เต่าหญ้าแอตแลนติก

 อาหารของเต่า

เต่า กินอาหารได้ทั้ง พืช และสัตว์ โดยเต่าบางชนิดก็จะกินแต่เฉพาะสัตว์ เช่น เต่าอัลลิเกเตอร์, เต่าสแนปปิ้ง (Chelydra serpentina) , เต่าปูลู (Platysternon megacephalum) เป็นต้น







วันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2555

สิงโต







สิงโต (อังกฤษ: lion) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีกระดูกสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อยู่ในวงศ์ Felidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับแมว สิงโตมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Panthera leo มีขนาดลำตัวใหญ่ ขนาดไล่เลี่ยกับเสือโคร่งทั่วไป (P. tigris) ซึ่งเป็นสัตว์ในสกุล Panthera เหมือนกัน จัดเป็นสัตว์ในวงศ์ Felidae ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดรองมาจากเสือโคร่งไซบีเรีย (P. t. altaica) พื้นลำตัวสีน้ำตาล ไม่มีลาย ตัวผู้เมื่อโตเต็มที่จะมีขนสร้อยคอยาว ขนปลายหางเป็นพู่ ชอบอยู่เป็นฝูงตามทุ่งโล่ง มีน้ำหนักประมาณ 250 กิโลกรัม (550 ปอนด์) ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่า มักทำหน้าที่ล่าเหยื่อ มีน้ำหนักประมาณ 180 กิโลกรัม (400 ปอนด์) มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกาและประเทศอินเดีย ในป่าธรรมชาติ สิงโตมีอายุขัยประมาณ 10-14 ปี ส่วนสิงโตที่อยู่ในกรงเลี้ยงมีอายุยืนถึง 20 ปี



ชนิดย่อย
สิงโตในปัจจุบัน เดิมมี 12 ชนิดย่อยที่ได้รับการยอมรับ จำแนกความแตกต่างจาก แผงคอ ขนาด และการกระจายพันธุ์ เพราะลักษณะเหล่านี้ไม่ได้มีนัยสำคัญและมีความแปรผันในแต่ละตัวสูง ทำให้รูปแบบส่วนมากอาจไม่ใช่ชนิดย่อยที่แท้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การตั้งอยู่บนพื้นฐานของสิงโตในสวนสัตว์ซึ่งไม่ทราบแหล่งที่มานั้นอาจมี "ความโดดเด่น แต่ผิดปกติ" ในลักษณะทางสัณฐานวิทยา[10] ปัจจุบันเหลือเพียง 8 ชนิดย่อยที่ได้รับการยอมรับ[8][11] แม้ว่าหนึ่งในนั้น (สิงโตแหลมกูดโฮพ ปกติจำแนกเป็น Panthera leo melanochaita) อาจเป็นโมฆะ[11] แม้ว่า 7 ชนิดย่อยที่เหลืออาจดูมาก แต่ความแปรผันของไมโทคอนเดรียในสิงโตแอฟริกาปัจจุบันกลับไม่มากนักซึ่งแสดงว่าสิงโตในตอนใต้ของทะเลทรายซาฮาราทั้งหมดสามารถพิจารณาเป็นชนิดย่อยเดียวกันได้ อาจเป็นเพราะการแยกตัวในสองเครือบรรพบุรุษหลัก หนึ่งในทางตะวันตกของเกรตริฟต์แวลลีย์ และอีกหนึ่งในทางตะวันออก สิงโตจากซาโว (Tsavo) ในทางตะวันออกของประเทศเคนยามีพันธุกรรมใกล้เคียงกับสิงโตในทรานซ์วาล (Transvaal) แอฟริกาใต้มากกว่าสิงโตในเทือกเขาอเบอร์แดร์ (Aberdare) ในทางตะวันตกของประเทศเคนยา[12][13] ในทางกลับกัน เปอร์ คริสเตียนเซน (Per Christiansen) ทำการวิเคราะห์กะโหลกสิงโต 58 กะโหลกในสามพิพิธภัณฑ์ในยุโรป และพบว่าถ้าใช้สัณฐานวิทยาของกะโหลกสามารถแยกชนิดย่อยได้เป็น krugeri nubica persica และ senegalensis ขณะที่มีการเลื่อมล้ำกันระหว่าง bleyenberghi กับ senegalensis และ krugeri สิงโตเอเชีย persica มีความโดดเด่นอย่างเด่นชัด และสิงโตแหลมกูดโฮพมีลักษณะใกล้ชิดกับสิงโตเอเชียมากกว่าสิงโตแอฟริกา[14]

[แก้] สิงโตในปัจจุบัน

มี 8 ชนิดย่อยในปัจจุบัน (สมัยโฮโลซีน) ที่ได้รับการยอมรับ:

วันพุธที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2555

เพนกวิน



เพนกวิน (Penguin) จัดอยู่ในสัตว์มีกระดูกสันหลัง ชั้นสัตว์ปีก มีถิ่นอาศัยอยู่บริเวณขั้วโลกใต้ มีปีกแบนเอาไว้พายว่ายน้ำ ชอบกินปลา ตัวเมียออกลูกเป็นไข่ให้ตัวผู้กกไข่ แล้วตัวเมียจะไปหาอาหารกลับมา
Penguins (latSpheniscidae ) เป็น ครอบครัว ของ น้ำ neletećih นก, ที่อยู่ ส่วนใหญ่ ใน ซีกโลก ใต้รวมถึง หก จำพวก กับ 17 หรือ 20 สายพันธุ์, ขึ้นอยู่กับ ผู้เขียน เพนกวิน สามารถปรับตัว กับชีวิตในน้ำด้วยปีกที่มีการพัฒนาในกระเพื่อมขนสีดำบนหลังของพวกเขาในขณะที่ท้องสีขาว อาหาร ครัสเตเชีย, ปลา, ปลาหมึก, ไก่, หมีขั่วโลก และ สัตว์น้ำ อื่น ๆ ที่รักในขณะที่ ว่ายน้ำ ใต้น้ำ ใต้น้ำ ใช้ เกือบครึ่ง ชีวิต
แต่ ทุก ชนิด เพนกวิน ที่เกิด ในพื้นที่ภาคใต้ พวกเขา ไม่เพียง อาศัยอยู่ในพื้นที่ ที่มี สภาพ อากาศ เย็น เช่น ทวิปแอนตาร์กติกาแท้จริง เพียง ไม่กี่ ชนิด ของ เพนกวิน อาศัยอยู่ ใต้ มาก หลาย ชนิด อาศัยอยู่ใน เขต หนาว และ หนึ่ง ชนิด เพนกวิน กาลาปากอส, ชีวิต ใกล้ เส้นศูนย์สูตร.
ชนิด ที่ใหญ่ที่สุดใน ชีวิต คือ เพนกวินจักรพรรดิ ตัวแทน ใหญ่ที่สุด ของ ชนิด นี้ สูงประมาณ 1.1 เมตร และ น้ำหนัก ประมาณ 35 กก. ชนิด ที่เล็กที่สุด ของ นกเพนกวิน เป็น Little Penguinสมาชิกมีประมาณ 40 ซม. สูง และ น้ำหนัก 1 กก. ขนาดใหญ่ ชนิด เพนกวิน inhabiting อาหารว่าง เย็น ในขณะที่เพนกวินน้อยจะพบในบริเวณเขตร้อน ปานกลาง หรือ แม้แต่บางชนิดก่อนประวัติศาสตร์ของนกเพนกวินเป็นสัดส่วน ถึงยักษ์ สูง และ น้ำหนัก เป็น คน ผู้ใหญ่












แมวนํ้า




แมวน้ำเคปเฟอร์ซีล(แมวน้ำแอฟริกาใต้)
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
Cape Fur Seal(South African Fur Seal)
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Arctocephalus pusillus pusillu

ลักษณะทั่วไป
ตัวผู้ใหญ่กว่าตัวเมีย โดยมีคอเป็นสันใหญ่ สีขนลำตัวของตัวผู้เป็นสีเทา-ดำ และมีสีน้ำตาลแซม น้ำหนักราว 247 กิโลกรัม ความยาว 2.15 เมตร ตัวเมียมีสีลำตัวเป็นสีน้ำตาล-เทา น้ำหนักราว 57 กิโลกรัม และมีความยาว 1.56 เมตร



ถิ่นอาศัย, อาหาร
ออกจับปลาในทะเลใกล้เกาะเล็ก ๆ และขึ้นฝั่งบนเกาะบริเวณชายหาดที่เป็นโขดหินที่มีการขึ้นลงของน้ำทะเลในเขตแอฟริกาใต้
กินปลาเป็นอาหารหลักรวมทั้งปลาหมึกและหอย

พฤติกรรม, การสืบพันธุ์
แมวน้ำเคปเฟอร์ซีลเป็นสัตว์สังคม อยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ ชอบล่าเหยื่อและหากินตามผิวน้ำหรือน้ำตื้นๆ หากินปลาตามเรือของชาวประมง
ในช่วงกลางเดือนตุลาคม ตัวผู้จะไปยังพื้นที่ผสมพันธุ์ซึ่งเป็นชายหาดที่เป็นโขดหินและประกาศอาณาเขต อีกหลายสัปดาห์ต่อมาตัวเมียจะตามเข้ามาเพื่อออกลูกจำนวน 1 ตัว ซึ่งจะมีตัวเมียหลายตัวเข้ามาในอาณาเขต ตัวผู้ที่ครองอาณาเขตจะไล่ตัวผู้ตัวอื่นออกนอกอาณาเขตหากล้ำเข้ามา จนกว่ามันจะได้ผสมพันธุ์กับตัวเมียทุกตัว ตัวเมียจะเป็นสัดหลังการออกลูก 5 - 6 วัน และมีระยะการตั้งท้องนานประมาณ 1 ปี

สถานภาพปัจจุบัน


สถานที่ชม
สวนสัตว์เชียงใหม่


รูปภาพสวยๆของแมวนํ้า











วันอังคารที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2555

ผึ้งน้อย



ผึ้ง จัดอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ไฟลัมอาร์โธรพอด จัดเป็นแมลงชนิดหนึ่งอาศัยรวมกันอยู่เป็นฝูง โดยส่วนใหญ่จะออกหาอาหารเป็นน้ำหวานจากเกสรของดอกไม้ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อพืชในการผสมพันธุ์ ผึ้งทำงานกันเป็นระบบ มีผึ้งนางพญาเป็นหัวหน้าใหญ่
มนุษย์รู้จักผึ้งมานาน 7000 ปีแล้ว กษัตริย์ Menes ของอียิปต์โปรดให้ผึ้งเป็นสัญลักษณ์แห่งอาณาจักรของพระองค์
ลักษณะทั่วไปของผึ้ง แบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ
  1. ส่วนหัว ประกอบด้วยอวัยวะรับความรู้สึกต่าง ๆ ที่สำคัญ คือ
    1. ตารวม มีอยู่ 2 ตา ประกอบด้วยดวงตาเล็ก ๆ เป็นรูปหกเหลี่ยมหลายพันตา รวมกัน เชื่อมติดต่อกันเป็นแผง ทำให้ผึ้งสามารถมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้รอบทิศ
    2. ตาเดี่ยว อยู่ด้านบนส่วนหัว ระหว่างตารวมสองข้าง เป็นจุดเล็ก ๆ 3 จุด อยู่ ห่างกันเป็นรูปสามเหลี่ยม ซึ่งตาเดี่ยวนี้จะเป็นส่วนที่รับรู้ในเรื่องของความเข้มของแสง ทำให้ผึ้งสามารถแยกสีต่าง ๆ ของสิ่งของที่เห็นได้ ฟริช ดาร์ล ฟอน ได้ทำการศึกษาและพบว่าผึ้งสามารถเห็นสีได้ 4 สี คือ สีม่วง สีฟ้า สีฟ้าปนเขียว และสีเหลือง ส่วนช่วงแสงที่มากกว่า 700 มิลลิไมครอน ผึ้งจะมองเห็นเป็นสีดำ
    3. หนวด ประกอบข้อต่อและปล้องหนวดขนาดเท่า ๆ กันจำนวน 10 ปล้อง ประกอบเป็นเส้นหนวด ซึ่งจะทำหน้าที่รับความรู้สึกที่ไวมาก
  2. ส่วนอก จะกอบด้วยปล้อง 4 ปล้อง ส่วนด้านล่างของอกปล้องแรกมีขาคู่หน้า อมปล้องกลางมีขาคู่กลางและด้านบนปล้องมีปีกคู่หน้าซึ่งมีขนาดใหญ่หนึ่งคู่ ส่วนล่างอกปล้องที่ 3 มีขาคู่ที่สามซึ่งขาหลังของผึ้งงานนี้จะมีตระกร้อเก็บละอองเกสรดอกไม้ และด้านบนจะมีปีกคู่หลังอยู่หนึ่งคู่ที่เล็กกว่าปีกหน้า
  3. ส่วนท้อง ส่วนท้องของผึ้งงานและผึ้งนางพญาเราจะเห็นภายนอกเพียง 6 ปล้อง ส่วนปล้องที่ 8-10 จะหุบเข้าไปแทรกตัวรวมกันอยู่ในปล้องที่ 7 ส่วนผึ้งตัวผู้จะเห็น 7 ปล้อ
 





ปลาทอง

ปลา (อังกฤษ: Fish, กรีก: Ichthys, ละติน: Pisces) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีกระดูกสันหลัง เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำ เป็นสัตว์เลือดเย็น หายใจด้วยเหงือกและมีกระดูกสันหลังสามารถเคลื่อนไหวไปมาด้วยครีบและกล้ามเนื้อของลำตัว บางชนิดมีเกล็ดปกคลุมทั่วตัว บางชนิดไม่มีเกล็ดแต่ปกคลุมด้วยเมือกลื่น ๆ หรือแผ่นกระดูก มีหัวใจสองห้องและมีขากรรไกรยกเว้นปลาจำพวกปลาฉลาม
สัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำบางประเภท ถูกเรียกติดปากว่าปลาเช่นเดียวกันเช่น ปลาดาว, โลมา, วาฬและหมึก ซึ่งสัตว์ทั้งหมดนี้ก็มีแหล่งอาศัยอยู่ในน้ำด้วยกันทั้งสิ้น แต่ไม่ได้จัดอยู่ในจำพวกเดียวกันกับปลา ด้วยลักษณะทางกายวิภาคและสรีรวิยาที่แตกต่างกันเช่น ปลาดาวเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังเช่นเดียวกับปลา มีโครงสร้างที่เป็นหินปูน โลมาและปลาวาฬถูกจัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่สามารถหายใจได้ทางปอดไม่ใช่ทางเหงือก และปลาหมึกจัดเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง แต่ถูกจัดรวมอยู่กับสัตว์ประเภทเดียวกันกับหอย
ลักษณะทั่วไป
ปลาเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำ มีหลายจำนวนมากมายหลากหลายสายพันธุ์ บางชนิดมีเกล็ดและไม่มีเกล็ด ปลาส่วนมากมีการผสมพันธุ์นอกร่างกาย แต่บางชนิดก็จะมีการผสมพันธุ์ภายในร่างกายของปลาตัวเมีย มีลักษณะลำตัวด้านซ้ายและขวาเท่ากัน สามารถแบ่งกลุ่มทางอนุกรมวิธานของปลาได้เป็นชั้นใหญ่ ๆ ดังนี้
  1. ปลาไม่มีขากรรไกร (Agnatha) แบ่งเป็น แฮคฟิช พบในปัจจุบันประมาณ 65 ชนิด และ ปลาแลมป์เพรย์ พบในปัจจุบันประมาณ 40 ชนิด
  2. ปลากระดูกอ่อน (Cartilaginous fish) ได้แก่ ปลาโรนัน, ปลาฉนาก, ปลากระเบน และปลาฉลาม พบในปัจจุบันประมาณ 400 ชนิด
  3. ปลากระดูกแข็ง (Bony fish) คือปลาอื่น ๆ ที่เหลือทั้งหมด ปลากระดูกแข็งเป็นปลาส่วนใหญ่ของโลก พบในปัจจุบันประมาณ 21,000 ชนิด
  4. ปลาครีบเป็นพู่ (Lobe-finned fish) คือ ปลาที่มีครีบต่าง ๆ เป็นพู่หรือกลีบ ใช้ในการเคลื่อนไหวใต้น้ำเหมือนเดิน ได้แก่ ปลาซีลาแคนท์, ปลาปอด เป็นต้น
  5. ปลามีเกราะ (Armoured fish) เป็นปลาในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ถือเป็นบรรพบุรุษของปลาทั้งหมด ปัจจุบันสูญพันธุ์หมดแล้ว มีเกล็ดหนาหุ้มตลอดลำตัวเหมือนชุดเกราะ
ปลาเป็นสัตว์น้ำที่สามารถดำรงชีพอยู่ได้ในสภาพของดินฟ้าอากาศที่มีความแปรปรวน และแตกต่างกันอย่างมาก ตราบใดเท่าที่ในบริเวณนั้นยังคงมีแหล่งน้ำอยู่ เนื่องจากปลาในแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติเฉพาะตัวในการปรับสภาพของตัวเองให้สามารถมีชีวิตต่อไปได้ เช่น ปลาที่อาศัยในมหาสมุทรแอนตาร์กติก ซึ่งปกคลุมไปด้วยน้ำแข็งและอุณหภูมิที่ต่ำกว่าจุดเยือกแข็งจึงต้องปรับสภาพร่างกายของตัวเองโดยการสร้างสารความต้านทานของเม็ดเลือด หรือปลาที่อาศัยอยู่ในน้ำที่มีอุณหภูมิสูง แหล่งน้ำที่จืดสนิทจนถึงแหล่งน้ำที่มีความเค็มค่อนข้างมาก ก็จะปรับสภาพการดำรงชีพที่แตกต่างกันรวมไปถึงวิธีการว่ายน้ำด้วยลักษณะวิธีการที่แตกต่างกัน การปรับตัวและการดิ้นรนเพื่อการดำรงชีพของปลา ทำให้ลักษณะทางสรีรวิทยารวมถึงพฤติกรรมต่าง ๆ มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง








วันจันทร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2555

มด




มดเป็นแมลงชนิดหนึ่งในตระกูล Formicidae เราพบเห็นมดในทุกหนแห่ง นอกจากใน ทวีปแอนตาร์กติกาที่มีน้ำแข็งปกคลุมตลอดปี มดเป็นสัตว์สังคมที่มีความสามารถหลายด้าน และมีพฤติกรรมที่น่าสนใจมาก ถึงระดับที่ทำให้มันเป็นสัตว์ที่คนสนใจศึกษามากที่สุด
ถึงแม้มดจะมีน้ำหนักตัวเบาเมื่อเทียบกับคนก็ตาม แต่ถ้าเราชั่งน้ำหนักของมดทั้งโลก เราก็จะพบว่ามันมีน้ำหนักพอๆ กับคนทั้งโลกทีเดียว
นักวิทยาศาสตร์หลายคนคิดว่ามดมีวิวัฒนาการจากแมลงดึกดำบรรพ์ที่ดำรงชีวิตเป็นกา ฝากตามตัวแมลงชนิดอื่น และถือกำเนิดเกิดมาบนโลกเมื่อประมาณ 40 ล้านปีมาแล้ว
แต่ในวารสาร Nature ฉบับวันที่ 29 มกราคมที่ผ่านมานี้ D. Agosti แห่ง American Museum of Natural History ที่ New York ในสหรัฐอเมริการและคณะได้รายงานว่าเขาได้ พบซากฟอสซิล ของมดที่มีอายุถึง 92 ล้านปี ซึ่งนับว่าดึกดำบรรพ์กว่าที่คิดเดิมถึง 2 เท่าตัว ในยางสนของต้นไม้ต้นหนึ่งในรัฐ New Jersey สหรัฐอเมริกา ซากมดที่เขาพบนี้เป็นซากของ มดงานตัวเมีย 3 ตัว และตัวผู้ 4 ตัว มดกลุ่มนี้มีอวัยวะและต่อมาของร่างกายที่ชัดเจนว่าเป็น มด เช่น มีต่อม metapleural ที่ทำหน้าที่ขับสารปฏิชีวนะออกมาเพื่อปกป้องมดมิให้เป็น อันตรายจากการถูกจุลินทรีย์คุกคาม จึงทำให้มันสามารถดำรงชีพอยู่ใต้ดินหรือตามต้นไม้ที่ เน่าเปื่อยได้สบายๆ และยังใช้สารเคมีที่ขับออกมาจากต่อมนี้ในการติดต่อสื่อสารถึงกัน อันมี ผลทำให้มันเป็นสัตว์สังคมที่ดีที่สามารถ ในที่สุด Agosti และคณะจึงคาดคะเนว่า มดคงถือ กำเนิดเกิดมาบนโลกเมื่อ 130 ล้านปีก่อน ซึ่งยุคนั้นเป็นยุคที่นักธรณีวิทยาเรียกว่ายุค Cretaceores และเป็นยุคที่ไดโนเสาร์ยังครองโลกอยู่ แต่มดก็มิได้มีบทบาทสำคัญทันทีทันใด มดเริ่มมีความหลากหลายทางชีวภาพในยุคต่อมาคือยุค Tertiary คือ เมื่อไดโนเสาร์สูญพันธุ์ ไปจนหมดสิ้นแล้ว ปัจจุบันมดมีความสำคัญต่อระบบนิเวศของโลกมาก โดยเฉพาะในบริเวณ เขตร้อนของโลกป่าดงดิบ ในเขตนี้จะขาดมดไม่ได้เลย
นักชีววิทยาได้ศึกษาธรรมชาติของมดมานานกว่าหนึ่งศตวรรษแล้ว และได้พบว่ายิ่ง ศึกษามดมากขึ้นเพียงใด เขาก็ยิ่งทึ่งในความสามารถของมันมากขึ้นเพียงนั้น เมื่อ 5 ปีก่อน นี้ B.Holldobler และ E.O. Wilson ได้เขียนวรรณกรรม The Ants บรรยายธรรมชาติของมด ตั้งแต่วิวัฒนาการตลอดจนพฤติกรรมทุกรูปแบบของมดจนทำให้หนังสือเล่มนี้ได้รับรางวัล pulitzer ของอเมิรกา และใครที่อ่านหนังสือเล่มนี้มักจะคิดว่ามนุษย์รู้จักมดดีแล้วแต่ความ จริงหาได้เป็นเช่นนั้นไม่ เพราะเรากำลังได้รับความรู้ใหม่ๆ เกี่ยวกับมดอยู่ตลอดเวลา เช่น C.Errand แห่งมหาวิทยาลัย Paris ได้เคยรายงานไว้ในวารสาร Animal Behavior เมื่อ 2 ปี ก่อนนี้ว่า มดที่อยู่ในอาณาจักรเดียวกันจะมีความสนิทสนมกันและคุ้นเคยกันโดยอาศัย กลิ่นจากสารเคมี pheromone ที่มดขับออกมาจากร่างกาย เพราะหลังจากที่ได้ทดลองเลี้ยง มดให้อยู่ด้วยกันนาน 3 เดือน แล้วจับแยกกันนาน 18 เดือน มันก็ยังจำเพื่อนของมันได้



ส่วนมด Formica selysi นั้น Errand ก็ได้พบว่าตามธรรมดาเป็นมดกาฝากที่ชอบเกาะมด อื่นๆ กิน ราชินีของมดพันธุ์นี้มักจะใช้ความสามารถในการปลอมกลิ่นบุกรุกเข้ารังมดพันธุ์อื่น แล้วฆ่าราชินีมดเจ้าของรัง จากนั้นก็สถาปนาตนเองขึ้นเป็นราชินีมดเจ้าของรัง จากนั้นก็ สถาปนาตนเองขึ้นเป็นราชินีแทน แล้วบังคับมดงานทั้งหลายให้ทำงานสนองความต้องการ ของตนเองทุกรูปแบบ
เมื่อไม่นานมานี้นักชีววิทยากลุ่มหนึ่งได้ศึกษามด Polygerus ที่ทำรังอยู่ตามลุ่มน้ำ อะเมซอนในบราซิล และได้พบว่ามดพันธุ์นี้มีความเชี่ยวชาญในการล่าทาสมาก คือเวลามัน ทำสงครามมดชนะมันจะบุกเข้ายึดรังมดที่แพ้สงครามแล้วจับมดทาสที่ประจำอยู่ในรังนั้นมา เป็นทาสรับใช้มัน จากนั้นมันจะขนไข่มดที่แพ้สงครามกลับไปพักที่รังมันทันทีที่ไข่สุกลูกมด ใหม่จะมีจิตใจเป็นทาสยินยอมรับใช้มด Polygerus โดยไม่ต้องสั่ง มดทาสนั้นตามปกติมีฐานะ ทางสังคมต่ำสุด มันจึงไม่มีสิทธิ์สืบพันธุ์ใดๆ ดังนั้นเวลามดทาสตาย มดนายก็ต้องออก สงครามเพื่อล่ามดทาสมารับใช้มันอีก เพราะถ้าไม่ออกศึกหาทาสมันก็จะอดอาหารตายเมื่อ มีมดทาสแล้ว วันๆ มันจะนั่งอ้อนขออาหารจากมดทาสตลอดเวลา
ส่วนมด Aolenopsis invicta ซึ่งเป็นมดคันไฟที่มีชีวิตอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ และขณะนี้กำลัง คุกคามผู้คนและที่อยู่อาศัยในทวีปอเมริกาเหนืออยู่ R. Hickling แห่งมหาวิทยาลัย Mississippi ในสหรัฐอเมริกา ได้พบว่ามันสามารถติดต่อสื่อสารกันด้วยเสียงและกลิ่นได้ โดยเขาได้ถ่ายภาพมดชนิดนี้และบันทึกเสียงของมดและเขาได้พบว่าเวลามดตกใจมันจะส่ง เสียงดังหรือเวลาศัตรูปรากฏตัวให้เห็นอย่างทันทีทันใดมันก็จะส่งเสียงอื้ออึงเหมือนกัน
เพราะเหตุว่าเสียงเดินทางได้เร็วกว่าโมเลกุล Pheromone ของกลิ่น ดังนั้นมดจะใช้เสียง เฉพาะในกรณีสำคัญๆ เท่านั้น